เนื่องจากตลาดสินค้าอาหารนับว่าเป็นตลาด ขนาดใหญ่ที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศไทยปี ละกว่าหลายแสนล้านบาท และยิ่งหากมีการศึกษา ข้อมูลที่ดี ก็จะมีส่วนที่ทำให้สามารถการเข้าถึงผู้บริโภค ได้กว้างขึ้น และช่วยแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดมาครอบครองได้ ภายใต้ศักยภาพการแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้น โดยการจะเจาะตลาดสินค้าอาหารใน AEC ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ผู้ส่งออกไทย จะต้องให้ความสำคัญกับการศึกษาข้อมูลด้าน วัฒนธรรม ประเพณี และรสนิยมของผู้บริโภคใน กลุ่มประเทศสมาชิกให้ดีเสียก่อน ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่ม โอกาสในการขยายตลาดให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง หน่วยงาน DITP ได้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ สินค้าอาหารและรสนิยมด้านการกินดื่มมาให้ได้ ทำความเข้าใจ ดังต่อไปนี้
ประเทศกัมพูชา
สินค้าไทยที่มีศักยภาพในตลาดกัมพูชา จะเป็นสินค้าจำพวกเครื่องดื่มผลไม้กระป๋อง อาทิ น้ำส้มกระป๋อง น้ำองุ่นกระป๋อง และน้ำสับปะรด กระป๋อง สาเหตุเพราะปัจจุบันกัมพูชายังนับว่าเป็นประเทศที่มีกำลังในการผลิตเครื่องดื่มที่ยังไม่เพียง พอต่อการบริโภคของประชากรในประเทศ จึงนับ เป็นโอกาสสำหรับผู้ส่งออกไทย ซึ่งเป็นแหล่งผลิต รายใหญ่ในกลุ่มสินค้าดังกล่าวใน AEC ที่สามารถ ตอบสนองความต้องการดังกล่าวได้เป็นอย่างดี
ประเทศอินโดนีเซีย
ในดินแดนอิเหนาแห่งนี้ ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะ นิยมชมชอบทานของหวาน อีกทั้งวิถีชีวิตประจำวัน ก็เป็นไปอย่างเร่งรีบ สินค้าที่ถูกป้อนเข้าสู่ตลาดแห่ง นี้จึงต้องใส่ความสะดวกสบาย และประหยัดเวลา ในการบริโภคลงไป โดยสินค้าไทยที่มีศักยภาพ ได้แก่ ขนมหวาน ประเภทลูกตาลลอยแก้วแช่แข็ง เป็นต้น
ประเทศลาว
ขณะที่ประเทศบ้านพี่เมืองน้องของไทย อย่างประเทศลาวนั้น มีวัฒนธรรมการรับประทาน อาหารที่ใกล้เคียงกับไทยเป็นอย่างมากอีกทั้งใน ประเทศลาวยังมีคนจีนเข้ามาอาศัยอยู่จำนวน มาก และจากข้อมูลที่สำคัญก็คือประเทศลาวยัง ไม่มีผู้ผลิตขนมเปี๊ยะ ซึ่งเป็นขนมยอดนิยมของ คนจีน เพราะฉะนั้นผู้ประกอบการไทยที่มีความ สามารถในการผลิตสินค้าดังกล่าวก็น่าจะใช้โอกาส แบบนี้รีบเข้าไปช่วงชิงพื้นที่ทางการตลาดได้
ประเทศเมียนมาร์
ประเทศเมียนมาร์นิยมบริโภคสินค้าจาก ประเทศไทยไม่แพ้ผู้บริโภคประเทศลาว โดยเฉพาะ สินค้าประเภทชา ซึ่งเกี่ยวสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของ ชาวเมียนมาร์ ที่ชื่นชอบการดื่มชาหรือกาแฟเพื่อ การผ่อนคลายเป็นอย่างมาก ดังนั้นผลิตภัณฑ์ สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการนำใบชาหรือเมล็ดกาแฟ มาใช้เป็นวัตถุดิบ ก็จะสามารถได้รับความนิยมใน ตลาดได้ไม่ยาก
ประเทศฟิลิปปินส์
นับว่าเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีเทคโนโลยี การผลิตยังไม่ทันสมัย ทั้งยังมีประชากรใน ประเทศจากการสำรวจล่าสุดกว่า 100 ล้านคน สินค้าประเภทอาหารที่ผลิตจึงมีจำนวนไม่มากพอ เท่ากับความต้องการของผู้บริโภค โดยอาหารนำ เข้าที่สำคัญของฟิลิปินส์ที่ผู้ส่งออกไทยควรจะทำ ตลาดส่งออกไปให้มากขึ้น ก็คือ ผลไม้อบแห้ง และ ขนมขบเคี้ยวที่มีความหวานในปริมาณสูง และที่ สำคัญผู้ประกอบการจะต้องทำการจดทะเบียน จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาด้วย ซึ่งนับเป็นกฎเหล็กสำคัญของการนำเข้าของแดน ตากาล็อกแห่งนี้
ประเทศสิงคโปร์
สำหรับประเทศอย่างสิงคโปร์ จากข้อมูล พบว่าอาหารแช่แข็งเป็นสินค้าอันดับต้นๆ ที่มี การนำเข้า และได้รับความนิยมจากผู้บริโภค ภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเป็นสินค้า ที่สะดวกต่อการรับประทาน และสามารถเก็บ รักษาไว้ได้นาน เพราะฉะนั้นหากผู้ส่งออกไทยที่ ต้องการจะเข้าทำตลาดที่ประเทศสิงคโปร์ให้ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ก็ควรให้ความสำคัญกับการ พัฒนาสินค้ารูปแบบใหม่ๆ เพื่อสร้างความแตกต่าง ในตลาด ซึ่งมีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าไทยของ ผู้บริโภคเป็นอย่างมาก
ประเทศเวียดนาม
ด้านประเทศเวียดนามก็เป็นอีกประเทศที่ชื่น ชอบและนิยมสินค้าจากประเทศไทย ซึ่งปัจจุบัน ผู้บริโภคชาวเวียดนามต่างก็หันมาบริโภคอาหารที่ ดูแลสุขภาพมากขึ้นเรื่อยๆเพราะฉะนั้นผลิตภัณฑ์ อาหารไทยที่มีส่วนผสมของวัตถุดิบประเภทธัญพืช จากเกษตรอินทรีย์ไร้สารพิษ ซึ่งให้คุณค่าทาง อาหารสูง และมีรสชาติที่ดี จะมีความเหมาะสม อย่างมากที่จะเข้าไปใช้ทำการบุกตลาด
นอกจากผลิตภัณฑ์อาหารดังกล่าวแล้ว สินค้าที่เกี่ยวข้องกับสินค้าขนมขบเคี้ยว และสินค้า อาหารฮาลาลก็ถือว่ามีความน่าสนใจไม่น้อยในการทำ ตลาดส่งออกของไทยในปี 2558 นี้โดยเฉพาะใน ส่วนของตลาดขนมขบเคี้ยวและผลิตภัณฑ์อาหาร ที่ใส่ใจต่อสุขภาพ เนื่องจากตลาดในอนาคตกำลัง เข้าสู่สังคมของผู้สูงอายุฉะนั้นหากผู้ประกอบการ สามารถหาวัตถุดิบที่เป็นธรรมชาติและพัฒนา รสชาติให้ถูกปาก ก็น่าจะทำตลาดได้ไม่ยากนัก
ผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยท่านใดที่ต้องการ จะหาคอร์สอบรมด้านการส่งออกที่สถาบันองค์ ความรู้ด้านการค้าระหว่างประเทศ กรมส่งเสริม การค้าระหว่างประเทศจัดขึ้นอยู่เป็นประจำ สามารถ ติดต่อสมัครขอเข้ารับฟังการสัมมนา เรื่อง “ตลาด อาหารขบเคี้ยวในกลุ่มประเทศอาเซียน” ซึ่งจะ จัดขึ้นในวันที่ 15 มกราคม 2558 โดยส่งใบสมัคร เพื่อสำรองที่นั่งได้ที่ โทรสาร 0-2513-2446, 0-2513-1904, 0-2511-5501 หรือ Email : niramonp @ditp.go.th รับจำนวน 100 ท่าน (ไม่เสียค่าใช้ จ่าย) และหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับรายละเอียด ของหัวข้อการสัมมนา สามารถโทรสอบถามได้ที่ 0-2512-0093 หรือ 0-2513-1909 ต่อ 604, 363
ที่มาข้อมูล : DITP และ www.manager.co.th